Home
พัฒนาการ และวิธีส่งเสริม เด็ก 0-6 ปี
ทักษะ EF
บทความ
Menu
Home
พัฒนาการ และวิธีส่งเสริม เด็ก 0-6 ปี
ทักษะ EF
บทความ
พัฒนาการทางด้านอารมณ์
ของเด็ก แรกเกิด-6ขวบ
พัฒนาการทางด้านอารมณ์ เด็กแรกเกิด - 3ขวบ
ร้องไห้เมื่อรู้สึกเสียใจ
ยิ้ม หัวเราะ กรี้ด เมื่อมีความสุข
ต้องการการพึ่งพาและได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่น
พูดได้ไม่เยอะ ไม่ทันความคิดของตนเอง จึงแสดงออกด้วยท่าทีที่ไม่เหมาะสม เช่น ตี ขว้างปา กรี้ด
ยังไม่สามารถกะระยะ หรือจดจำน้ำหนักมือได้ จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ดูก้าวร้าว
สำรวจตนเอง ว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อรับรู้ถึงความสามารถของตนเอง
สำรวจผู้เลี้ยงดู ว่าสามารถรักและไว้ใจได้มากแค่ไหน โดยไม่สนใจว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดี
วิธีที่พ่อแม่ควรรับมือ
และตอบสนองต่อเด็ก แรกเกิด-3 ขวบ
ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและตอบสนองทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านดีและด้านลบ เช่น เด็กร้องไห้ แสดงว่า self กำลังถูกทำลาย ให้เราเข้าไปโอบกอดจนกว่า self ของเด็กจะกลับมา
การที่เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง เพื่อที่จะทดสอบว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้าง เราสามารถตอบสนองด้วยท่าทีที่เหมาะสม ทำได้โดยการสอนและทำให้ดู และพูดอย่างชัดเจนว่าทำอะไรได้หรือไม่ได้ โดยเด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของผู้เลี้ยงดู (การบ่นไม่ช่วยอะไร)
ไม่คาดหวังเกินวัย ไม่คาดหวังให้เขาเป็นในแบบที่เราต้องการ
บอกรักผ่านการเล่น การกอด หอม โอบอุ้ม เล่านิทาน ปรากฏตัวอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อทำให้รู้ว่า พ่อแม่มีอยู่จริง ส่งผลให้เด็กเกิดความไว้ใจคน และไว้ใจโลกต่อไป
เวลาคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ พยายามจัดหาช่วงเวลาดังกล่าวให้ได้ เพื่อส่งต่อไปยังการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดู
สอนให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือตามวัย ฝึกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคาดหวังความสมบูรณ์แบบ แต่คาดหวังให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง พ่อแม่มีหน้าที่ตรวจสอบความเรียบร้อยตามเท่าที่จำเป็น
ตั้งกฎและกติกาอย่างชัดเจน ถ้าเด็กยังไม่สามารถทำได้ แสดงว่าเด็กยังไม่พร้อม ให้รอจนกว่าจะพร้อม เช่น วันนี้ยังไม่พร้อม วันหน้าค่อยลองใหม่
ชื่นชมทุกก้าวเล็กๆ ที่เกิดขึ้น ทุกคำชมมีความหมายเสมอ
พัฒนาการทางด้านอารมณ์ เด็ก 3 - 6ขวบ
พร้อมที่จะเรียนรู้ผู้อื่น เรียนรู้โลก
ลองผิดลองถูก และเรียนรู้จากผลของการกระทำ
ชอบเลียนแบบ ทั้งในด้านบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ รวมถึงการกระทำและคำพูดของคนอื่น
มีจินตนาการกว้างไกล มีมโนภาพในใจตลอดเวลา
เล่นบทบาทสมมติกับผู้คนและสิ่งของ
ช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง และเริ่มที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น
อยากรู้อยากเห็น สนใจในความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น
วิธีที่พ่อแม่ควรรับมือ
และตอบสนองต่อเด็ก 3-6 ขวบ
ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและตอบสนองทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านดีและด้านลบ
เด็กยังคงต้องการความมั่นคงจากผู้เลี้ยงดู
เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ถดถอย อย่าพึ่งโทษว่าเป็นความผิดของเด็ก แต่ให้หาถึงสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก
ไม่เอาลูกตนเองไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เด็กแต่ละคนมีความเฉพาะตนและมีความแตกต่างกัน
ไม่คาดหวังเกินวัย
การที่พ่อแม่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับลูก จะสามารถป้องกันทุกพฤติกรรมเสี่ยงได้
พ่อแม่และผู้เลี้ยงดู เปรียบเสมือนกระจกบานใหญ่ของเด็ก เด็กจะลอกเลียนแบบพฤติกรรมและคำพูดทั้งหมด มาปรับใช้กับตนเอง คิดไว้เสมอว่า ทุกพฤติกรรมของเรา จะถูกลอกเลียนแบบอย่างแน่นอน
เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ อย่าคิดแทน และอย่าเอาความกลัวที่มีมากเกินไปของเรามาปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
ชมให้มากกว่าเดิม ชมแบบมีเป้าหมาย และชมด้วยความจริงใจ
ความพยายามของเด็ก คือสิ่งที่มีค่าที่สุด เราจึงควรชื่นชมและยินดีทุกครั้งที่เห็นเด็กมีความพยายาม
ทำให้เห็น ทำให้ดู ทำไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ
ทักษะ EF
พัฒนาการเด็ก และวิธีส่งเสริม (0-6ปี)
Click here