Music and EF
เรียนดนตรีให้เหมือน
เล่นสนุกกับพ่อแม่
ได้ทั้งดนตรี และ EF

เด็กเรียนรู้ดนตรี ด้วยการฟัง การสร้างเสียงดนตรี ก่อนที่พวกเขาจะอ่านและเขียนโน้ต เช่นเดียวกับการเรียนรู้ภาษา

 

ด้านทักษะดนตรีเราให้เด็กเรียนรู้จังหวะ ตัวโน้ต โทนเสียง อารมณ์เพลง ประโยคเพลง และฟอร์มเพลง ผ่านการร้อง การเล่นเครื่องดนตรี และการเคลื่อนไหว 

 

ด้านทักษะ EF มีองค์ประกอบหลักคือ ความจำใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง และการยืดหยุ่นความคิด และรากฐานของการมีทักษะ EF ที่ดี คือการมีสายสัมพันธ์ที่แข็งแรง

 

เราจึงผสาน 2 ศาสตร์นี้เข้าด้วยกัน ด้วยการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีเด็ก มาพิ่มรูปแบบกิจกรรม

 

  • ให้เด็กใช้ ทักษะ EF มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้าน ความจำใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง การยืดหยุ่นความคิด
  • คุณพ่อ หรือคุณแม่ ร่วมทำกิจกรรมดนตรีด้วย เพื่อส่งเสริมสายสัมพันธ์

แนวการสอนดนตรีของเรา

ทักษะ EF

พัฒนาทักษะ EF โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ในการสร้างกติกา สร้างสถานการณ์ท้าทาย และเป็นเป้าหมาย

ทักษะดนตรี

เรียนรู้จังหวะ ตัวโน้ต โทนเสียง ประโยคเพลง อารมณ์เพลง ฟอร์มเพลงผ่านการฟัง การร้อง การเล่นดนตรี และการเคลื่อนไหวร่างกาย

สายสัมพันธ์

คุณพ่อ หรือคุณแม่ร่วมทำกิจกรรมกับน้อง เกิดเวลาคุณภาพ และส่งเสริมความผูกพัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นรากฐานของทักษะ EF

Music and EF
ครูณัฐ

จบการศึกษาด้านดนตรี ปริญญาตรีจากดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโท ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ศึกษาเกี่ยวกับการสอนดนตรีผ่านการเคลื่อนไหว ตามแนวปรัชญา Orff Schulwerk ที่มหาวิทยาลัย George Mason สหรัฐอเมริกา และมีประสบการณ์สอนกว่า 17 ปี

คำถามที่พบบ่อย

เราคือผู้ช่วยของคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องการส่งเสริมทักษะสมอง EF และทักษะดนตรีให้ลูก

ทักษะสมอง EF คือทักษะในการควบคุมตัวเอง ให้ไปถึงเป้าหมาย ที่มีความจำเป็นเพราะ

 

  • โลกเปลี่ยนเร็ว AIแทนที่มนุษย์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่ และปรับตัวจึงจำเป็น

 

  • การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และโทษ สามารถทำได้เพียงมีอินเตอร์เน็ต ทักษะการคิดวิเคราะห์ การควบคุมตัวเอง จึงจำเป็น

 

หรืออาจกล่าวได้ว่า ทักษะ EF คือสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กเจนอัลฟ่า

 

ทักษะ EF กลุ่มพื้นฐานประกอบด้วย ความจำใช้งาน, การยั้งคิดไตร่ตรอง, การยืดหยุ่นความคิด

 

  • ความจำใช้งาน คือ ความสามารถในการจำข้อมูลในขณะประมวลผลข้อมูล

 

เมื่อใดที่เด็กๆ เล่นเครื่องดนตรี หรือเคลื่อนไหวร่างกายไปกับเพลง เมื่อนั้นเด็กๆกำลังใช้สมองส่วนความจำ เพื่อนำไปใช้งานในการประมวลตัวโน้ต หรือเชื่อมโยงท่าทางกับเสียงเพลงที่กำลังได้ยิน หลังจากนั้นจึงเล่นดนตรี หรือทำท่าทางต่างๆออกมา

 

โน้ต, ท่าทาง + เสียงเพลง => เล่นดนตรี, ทำท่าทาง

 

  • การยั้งคิดไตร่ตรอง คือ ความสามารถในการหยุดพฤติกรรมตนเองในเวลาที่เหมาะสม

 

ในแต่ละเพลงมีจังหวะ โน้ต และท่าทางที่แตกต่างกัน การที่เด็กๆ ควบคุมตัวเองให้เคลื่อนไหวได้ตรงจังหวะ เล่นโน๊ตได้อย่างถูกต้อง และมีท่าทางประกอบตามเนื้อเพลง สิ่งเหล่านี้เกิดมาจากการที่เด็กๆสามารถใช้การยั้งคิดไตร่ตรอง หรือการควบคุมตนเอง เพื่อนำไปสู่การเล่นดนตรี และทำท่าทางตามเพลงได้

เล่นดนตรี หรือ ทำท่าทาง สอดคล้องกับเพลง

 

  • ยืดหยุ่นความคิด คือ ความสามารถเปลี่ยนวิธีคิดเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยน

 

ในแต่ละเพลง เด็กๆจะได้ทำกิจกรรมในรูปแบบที่เปลี่ยนไป ซึ่งช่วยให้เด็กๆ มีมุมอง มีประสบการณ์ที่หลากหลาย และเด็กๆยังได้สร้างเสียงตามจินตนาการ ซึ่งช่วยส่งเสริมเริ่องความคิดสร้างสรรค์

 

สร้างสรรค์เสียงตามจินตนาการ และ ทำกิจกรรมหลายรูปแบบ

 

  • คุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องการส่งเสริมทักษะ EF และทักษะดนตรี ให้ลูก

 

  • คุณพ่อคุณแม่ ที่ไม่อยากเสียเวลาเดินทาง

 

  • คุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องการประหยัดเวลาหาข้อมูล และเตรียมกิจกรรม

 

  • คุณพ่อคุณแม่ ที่ชอบหากิจกรรมเล่นกับลูก

 

  • คุณพ่อคุณแม่ ที่สามารถจัดเวลาร่วมทำกิจกรรมกับลูกได้

 

สามารถจัดได้แน่นอน กิจกรรมถูกออกแบบอย่างเป็นขั้นเป็นตอน สามารถทำตามได้แม้ไม่มีพื้นฐานดนตรี

 

  • กิจกรรม และเพลงที่อ้างอิงตามงานวิจัย

 

  • รูปแบบ และเป้าหมายการเรียนที่ต่างกัน นอกจากเด็กๆ จะได้รับความรู้ดนตรีพื้นฐานที่ดี เพื่อใช้ต่อยอดขั้นต่อไปแล้ว เรายังมุ่งเน้นให้ผู้ปกครองและเด็กทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งเล่นดนตรี และเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อส่งเสริมสายสัมพันธ์ และทักษะ EF (การยั้งคิดไตร่ตรอง ความจำใช้งาน การยืดหยุ่นความคิด)

 

การเคลื่อนไหวร่างกายในคอร์ส นั้นแฝงไปด้วยการเรียนรู้เรื่อง จังหวะ ระดับเสียง ตัวโน้ต ตัวหยุด โทนเสียง ประโยคเพลง และฟอร์มเพลง หรือคือการเรียนรู้องค์ประกอบดนตรีผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกาย

 

อีกทั้งยังส่งเสริมทักษะ EF ทั้งการยั้งคิดไตร่ตรอง ความจำใช้งาน และการยืดหยุ่นความคิด

 

ไม่ใช่การเต้นเพื่อความสนุกอย่างเดียว

 

  • รูปแบบการทำกิจกรรมถูกออกแบบให้คล้ายการเล่นสนุก มีการเคลื่อนไหวไปมา โดยมีเครื่องดนตรีเป็นของเล่น มีเสียงดนตรีเป็นกติกา และมีเพื่อนเล่น เป็นคุณพ่อ/คุณแม่ ไม่ใช่การเรียนในรูปแบบที่เด็กต้องนั่งนิ่งๆ และตั้งใจฟัง ตัวอย่างบทเรียน

 

  • เรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซด์ Online Course (แนะนำให้เชื่อมต่อกับ Smart TV เพราะขนาดของหน้าจอ และความดังของเสียง ที่เพียงพอ  จะทำให้เด็กจดจ่อ และสนุกได้มากกว่าการเรียนผ่านโทรศัพท์ หรือ Tablet)

 

  • แนะนำให้เรียนอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 

 

  • หลังจากลงทะเบียน สามารถดูซ้ำเท่าไรก็ได้ ในระยะเวลา 2 ปี

 

เสียงจากคุณแม่