“เรียนดนตรีที่ไหนดี”
“แล้วเด็กเล็กควรเริ่มเรียนดนตรีเมื่อไร”
“เรียนดนตรีแล้วมันจะดียังไง”
“แล้วควรจะเรียนดนตรีประเภทไหน”
คุณพ่อคุณแม่คงมีคำถามแบบนี้ใช่มั้ยคะ
Music and EF มาแชร์ข้อมูลค่ะ
คำว่าดีที่สุดของแต่ละคนย่อม ลองใช้ 3 ข้อนี้ในการช่วยตัดสินใจ
ฉะนั้น การเริ่มเรียนดนตรีขณะที่สมองมี Synapses มหาศาล ย่อมได้เปรียบมากกว่า
เช่น ช่วงนี้เสียงดัง จังหวะช้าๆ หนักๆ ต้องเดินเหมือนคิงคอง หรือช่วงนี้เสียงเบา จังหวะปานกลาง พริ้วๆ ต้องบินเหมือนนก
ทำให้เมื่อโตขึ้น มีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็กพร้อมกับการเล่นเครื่องดนตรีแล้ว เขาจะเรียนรู้เรื่องจังหวะ โทนเสียง และอารมณ์เพลงได้อย่างรวดเร็ว และเป็นธรรมชาติ
และนอกจากนี้ยังส่งเสริมทักษะสมอง EF
เมื่อเด็กๆ เคลื่อนไหวร่างกายตามเงื่อนไขเสียงดนตรี เช่น ทำนองนี้ต้องนั่งตบตัก ทำนองนี้ต้องวิ่งวนเป็นวงกลม เมื่อนั้นเด็กๆ กำลังใช้สมองส่วนความจำ (จำว่าทำนองแบบนี้ต้องทำอะไร) ประมวลร่วมกับเสียงเพลงที่ได้ยิน แล้วจึงทำท่าออกมา
ตัวที่สอง คือ การยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
การเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี เกิดจากการพยายามควบคุม หรือยับยั้งตัวเองจากการเคลื่อนไหวที่ปล่อยตามสบาย
ตัวที่สาม คือ ยืดหยุ่นความคิด (Cognitive Flexibility)
การทำกิจกรรมในหลายรูปแบบ จะช่วยให้มีมุมมองที่หลากหลายขึ้น ไม่ยึดติด เช่น เพลงแมงมุมลายตัวนั้น
ครั้งที่1 ร้องเพลง
ครั้งที่ 2 ทำท่า
ครั้งที่ 3 เล่นเครื่องดนตรี สร้างเสียงตามจินตนาการ